โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสู่สากล จังหวัดอ่างทอง จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี

โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ชุมชนของดี ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสู่สากล ตามที่รัฐบาลกำหนดนโยบาย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยมีแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี เป็นแนวทางในการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขัน ได้อย่างยั่งยืน อีกทั้งกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนา คือ “ลุ่มน้ำแห่งประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์ที่ยั่งยืน” โดยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ สามารถพัฒนาตนเองสู่การแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นสิ่งเชื่อมโยงชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมภูมิปัญญาดังกล่าว ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมภูมิปัญญา ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนที่หลากหลาย เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร สมุนไพร ของใช้ของที่ระลึกต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ยังไม่สวยงามโดดเด่น ขาดการพัฒนาเพื่อต่อยอดให้มีมูลค่าเพิ่มสร้างรายได้โดยใช้นวัตกรรมจากภูมิปัญญาให้เกิดผลิตภัณฑ์ รูปแบบใหม่ ที่สามารถพัฒนาต่อยอดไปสู่การแข่งขันในระดับสากลได้

ดังนั้นโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยใช้องค์ความรู้ร่วมกับนวัตกรรมในการพัฒนาต่อยอดกระบวนการในการพัฒนา เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่ทันสมัย มีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อให้ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนมีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ มีศักยภาพทางการตลาด เพิ่มสูงขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนต่อไป ซึ่งในครั้งนี้โครงการจะ 3 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด โดยการฝึกอบรม Smart OTOP to Start Up พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ สู่ยุคดิจิทัล
กิจกรรมที่ 2 พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่สากล พัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนทักษะผู้ประกอบการ และพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานสู่สากล

กิจกรรมที่ 3 การประชาสัมพันธ์ส่งเสริมช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนา จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพัฒนาและผลิตภัณฑ์ของดีประจำจังหวัด ในครั้งที่จะเกิดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม ถึงวันอังคาร 3 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค ชั้น G โซน Alive Park Hall จังหวัดปทุมธานี

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะผู้ผลิต ผู้ประกอบการ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น / เพื่อพัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ให้มีศักยภาพทางการตลาดเพิ่มขึ้น / เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ให้มีช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ แก่ผู้ประกอบการกว่า 50 ราย และสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน โดยการขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจฐานราก การสร้างงาน เป็นต้น

ทั้งนี้การจัดจำหน่ายสินค้าดี สินค้าเด่น ของจังหวัดกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน จำนวน 6 จังหวัด จัดขึ้นภายใต้ Concept “The Power Of Heritage One Tumbon One Product” ประกอบด้วย จังหวัดอ่างทอง จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสระบุรี ประเภทต่างๆ อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก และประเภทเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย
กิจกรรมเวทีกลาง อาทิ ชมการแสดงพื้นถิ่นจากจังหวัดต่างๆ กิจกรรมจากศิลปินรับเชิญมากมาย กิจกรรมนาทีทองที่มีสินค้าทุกประเภทลดราคา ในทุกๆวัน วันละ 2 รอบ และกิจกรรมรับของรางวัลทุกวัน อีกด้วย และในครั้งนี้ภายในงานจะจัดเป็นโซน OTOP ชวนชิมกว่า 30 คูหา ให้ทุกคนได้มาช้อปของกิน อาหารดี อาหารเด่น ทั้ง 6 จังหวัด มางานเดียวครบ 6 จังหวัด ในวันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม ถึงวันอังคาร 3 กันยายน 2567 ณ A Live Park Hall ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี เวลา 10.00 – 20.30 น.